เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้าด้วย
มโนศิลา1... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า
... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า
... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคตา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคตา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต
ให้ทาหน้าได้ ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ดูมหรสพ
[248] สมัยนั้น มีมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไป
เที่ยวดูมหรสพ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การบรรเลงดนตรีบ้าง เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 มโนศิลา คือหินอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :10 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การ
ขับร้อง หรือการบรรเลงดนตรี รูปใดไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว
[249] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวคล้ายเพลงขับ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาว เหมือนพวกเราขับร้องเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาวเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวด
ธรรมด้วยเสียงขับยาว จริงหรือ” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ 5
ประการนี้ โทษ 5 ประการคือ
1. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
2. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
3. แม้คหบดีทั้งหลายก็ตำหนิ
4. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมี
5. ภิกษุรุ่นหลังจะพากันตามอย่าง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :11 }